ของดีประจำจังหวัด

3 เม.ย. 2561      24231 views

แชร์ทั้งหมด 15 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประวัติความเป็นมา เป็นงานที่สืบทอดทางศิลปะมาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน ซึ่งชาวนครถือเป็นงานฝีมือที่ทรงคุณค่า เพราะในอดีตงานเครื่องถมใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการและเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตบรรจง จึงเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช เรียกว่า "เครื่องถมเมืองนคร" กระบวนการขั้นตอนการผลิต 1.นำเม็ดเงินมาหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2.ใช้ค้อนตีให้ได้ขนาดตามต้องการ 3.นำมาขึ้นรูปแล้วสลักลวดลาย 4.ลงน้ำยาถมและนำไปตะใบตกแต่ง 5.นำไปขัดเงา จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ มีเส้นลายที่อ่อนช้อยงดงาม มีความประณีตและทำด้วยเงินแท้
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประวัติความเป็นมา ผ้าทอลายดอกกระจูดเกิดจากแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำถิ่นของอำเภอชะอวด และเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นลายผ้าซึ่งให้ความรู้สึกเป็นวิถีชีวิตและความภาคภูมิใจของชาวชะอวด กระบวนการขั้นตอนการผลิต 1.คัดเลือกเส้นด้ายที่มีคุณภาพ 2.นำเส้นด้ายเข้าสู่กระบวนการกรอ,สอดฟันหวี,เข้ารหัสลายที่เตรียมไว้ 3.เก็บดอกผ้า เก็บตะกอ ผูกเท้าเหยียบ,ผูกลูกกลิ้ง 4.ทอตามลวดลายที่เตรียมไว้ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ มีลวดลายที่ไม่ซ้ำแบบใคร,รีดง่าย,ดูแลง่าย ,ไม่ยีด.ไม่หด
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประวัติความเป็นมา จากการศึกษาประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวทำให้เกิดแรงจูงใจและมีชิ้นส่วนที่มีประโยชน์อย่างเด่นชัดคือรกมะพร้าว จากการดูสารคดีต่างประเทศได้คิดค้นการสร้างมิตินูนสูง (collage) จากรกมะพร้าว โดยอาศัยภาพต่อจริง ๆ เป็นแม่แบบสร้างให้เหมือนจริงมากที่สุด กระบวนการขั้นตอนการผลิต 1. เลือกภาพที่มีความสวยงามเป็นแบบ 2. นำไปย่อขยายตามต้องการ 3. เลือกกาบหรือรกมะพร้าวที่ไม่เก่าจนเกินไปทำการฟอกขัดฝอยที่ไม่ต้องการออก 4. สร้างภาพบนแผ่นกระดานอัด บุด้วยกระดาษสา ยกภาพนูนสูงเป็นมิติด้วยฟองน้ำและหุ้มด้วยรกมะพร้าว 5. นำรกมะพร้าวมาตัดแต่งเป็นปีกหรือขนตามชนิดของภาพ 6. นำภาพไปตัดกรอบและบรรจุกล่องส่งลูกค้า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ใช้วัสดุในท้องถิ่น เป็นผู้ผลิตรายเดียวของประเทศไทย ปริมาณการผลิต เดือนละ 3 ภาพ ราคา ภาพละ 12,000 บาท สถานที่จำหน่าย - 178 หมู่ที่ 6 ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 01-3971616 - สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิชล โทร. 0-7553-6370 สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หัวหน้ากลุ่ม โทร. 01-3971616
มังคุดคัด - หาไม่ง่ายอย่างที่คิด! มีให้กินเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย มังคุดคัด คือ มังคุดที่ยังไม่สุก คนส่วนมากเรียกว่ามังคุดดิบ ชาวบ้านบางท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้คำนิยมว่า “มังคุดก่อนแทงเข็มหรือมังคุดก่อนจะเป็นสายเลือด” คือก่อนสุก ๖๐ – ๗๐ % คือยังแก่อยู่ ยังเขียวอยู่ ทุกคนเมื่อเห็นมังคุดที่ยังไม่คัดและยังดิบอยู่ บางท่านอาจคิดว่าจะทานได้หรือเปล่าหนอ? แม้แต่ชาวสวนมังคุดเองยังคิดว่าทานไม่ได้และไม่รู้วิธีการทำให้ทานได้ เพราะขั้นตอนการทำก็ยากเย็นเสียเหลือเกิน จึงไม่อยากคัดทานเอง แต่ยังมีผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งทำมาหากินกับมังคุด แต่ไม่ใช่เป็นผู้ปลูกมังคุดหรือชาวสวนมังคุด คนกลุ่มนี้คือ ชาวชุมชนสะพานยาว หรือชาวนอกโคก อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟเมืองนครศรีธรรมราช หรือใกล้กับวัดศรีทวี ประกอบอาชีพทำมังคุดคัดขาย หลายท่านที่เคยลิ้มลองรสชาติความอร่อยจากมังคุดคัด เมื่อพูดถึงมังคุดคัดก็ร้องอ๋อ... หวาน มัน กรอบ อร่อย น้ำลายไหล อยากกินขึ้นมาทันที น ที่มา : ของฝากนครศรีธรรมราช
มังคุดหวานเมืองนคร นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีภูมิอากาศเหมาะสำหรับการปลูกมังคุดเป็น อย่างดี เนื่องจากมีความชื้นสูงและมีฝนตกชุกตลอดปีในช่วงเดือนกรกฎาคมสิงหาคมของทุกปีเป็นช่วงที่มีมังคุดออกสู่ตลาด เป็นจำนวนมาก มังคุดจึงเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียง และทำรายได้ให้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราชมากกว่าผลไม้อื่นๆชาวนครศรีธรรมราช นอกจากจะนิยมมังคุดที่เป็นผลสุกแล้วยังดัดแปลงผลที่ยังดิบมาเป็นของกินเล่นที่เรียกว่ามังคุดคัดโดยนำมังคุดมาคัดเอาเปลือก ออกโดยให้เนื้อและเมล็ดคงรูปเดิมไม่แต่กระจายออกจากกัน จากนั้นนำมาล้างให้สะอาด และแช่น้ำเกลือที่มีความเค็มอ่อนๆทิ้ง ไว้ให้น้ำเกลือดูดซืมเข้าในเนื้อจนทั่วแล้วใช้ไม้เสียบเรียงเป็นตับๆ ในแต่ละไม้จะมีมังคุดประมาณ 5-7 ผล มังคุดคัดจะมีสีขาว สะอาด กรอบ และรสชาติหวานมันอร่อย รับประทานได้ทั้งเนื้อและเมล็ด นิยมทำจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์หางอวน เกิดมาจากชาวบ้านที่มีอาชีพการประมง ได้ร่วมกันคิดค้นหาเครื่องมือมาใช้ในการประกอบอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิม เพื่อจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะจับกุ้งเคย ที่นำมาใช้ในการทำกะปิ และต่อมาเมื่อมีเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพสะดวกกว่า คือ ไนล่อน ชาวบ้านจึงนำ หางอวนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ
หนังตะลุง เป็นงานหัตถกรรมที่สืบมาแต่อดีตควบคู่กับการเล่นหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เป็นแหล่งที่มีการทำหัตถกรรมประเภทนี้มากที่สุด แต่เดิมการแกะหนังจะทำเฉพาะรูป สำหรับเชิดในการเล่นหนังตะลุงเท่านั้น ต่อมาในระยะหลังมีผู้คิดนำเอารูปหนังตะลุง นำมาขายเป็นสินค้นที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และมีการคิดแกะเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่ เพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งฝาผนัง อาคารบ้านเรือน
กระปิของชาวขนอม ขนอมเป็นอำเภอที่มีชายหาดที่สวยงามและชายหาดยาวที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีกะปิจำหน่ายรสชาติอร่อย ชาวบ้านทำเอง กะปิแท้ 100%
ขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะนำแป้งที่แห้งแล้วนั้นไปตำให้ร่วนแล้วใส่น้ำผึ้งที่เตรียมไว้คลุกเคล้ากันจนเข้ากันดีแล้ว เอามือจุ่มโรยดุเมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดีและโรยได้ไม่ขาดสายก้ใช้ได้ลองชิมดูรสจนเป็นที่พอใจ วิธีการทำล้างข้าวให้สะอาดแล้วหมักใส่กระสอบไว้ 2 คืน พอครบกำหนดแล้วล้างให้หมดกลิ่นบดให้ละเอยดนำแป้งไปบรรจุลงถุงผ้าบางๆ นำไปแขวนหรือวางให้สะเด็ดน้ำ เมื่อแป้งแห้งแล้วนำไปวางราบลง หาของหนักๆ วางทับไว้เพื่อให้แห้งสนิท
งานจักสานย่านลิเพา เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นศิลปะหัตถกรรมชั้นเยี่ยมของชาวปักษ์ใต้ โดยเฉพาะชาวเมืองนครศรีธรรมราช เป็นงาน ในการสร้างอาชีพในงานช่างพื้นเมืองของชาวนครศรีธรรมราช ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พัดใบกะพ้อ ประดิษฐ์จากพืชตระกูลปาล์มที่เรียกกันตามภาษาถิ่นว่าต้นพ้อ หรือต้นกะพ้อ อันเป็นที่มาของชื่อพัดใบพ้อ ชาวบ้านโคกยางอำเภอร่อนพิบูลย์ใช้เวลาว่างจากงานอาชีพประจำผลิตพัดใบพ้อ ด้วยการนำใบพ้อมาตากแห้งและสานเป็นพัด บ้างก็ย้อมสีวัตถุดิบที่ใช้สานทำให้งานหัตถกรรมที่ได้มีสีสันสดใสและสวยงาม พัดใบกะพ้อมีจำหน่ายในบริเวณร้านค้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ร้านค้าของที่ระลึกถนนท่าช้าง และในบวรบาซาร์ย่ายตลาดท่าวัง

แหล่งที่มา :