จังหวัดนครศรีธรรมราช

9 เม.ย. 2561      2107 views

แชร์ทั้งหมด 3 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.๑ ความเป็นมา นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า ๑๘๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสาร ที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นอย่างน้อย จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช"ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพรลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น คำว่า"นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้ แปลความได้ว่า "นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา ถ้าจะลําดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลาง ในราว ๘,๓๕๐-๑๑ ,๐๐๐ ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน) ที่อําเภอท่าศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสําริด ๒ ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อําเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสําริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าในช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึงปัจจุบันนี้ ๑.๒ ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๘๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๙,๙๔๒.๕๐๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖,๒๑๔,๐๖๔ ไร่ มีพื้นที่มากเป็นลำดับที่ ๑๖ ของประเทศ ประมาณร้อยละ ๑.๙๘ ของพื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูดที่ ๙ องศาเหนือ และลองติจูดที่ ๑๐๐ องศาตะวันออก อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวบ้านดอน ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอำเภอขนอมลงมาไปทางใต้ของอำเภอหัวไทรประมาณ ๒๒๕ กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่ ๑.๓ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างไปตามลักษณะของเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวของคาบสมุทร เป็นผลให้ ลักษณะของภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราชแบ่งได้เป็น ๓ ส่วน คือ ๑.บริเวณเทือกเขาตอนกลาง ได้แก่บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดลงไปถึงใต้สุด บริเวณพื้นที่ของอำเภอที่อยู่เทือกเขาตอนกลาง ได้แก่ อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา อำเภอพรหมคีรี อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอจุฬาภรณ์ และอำเภอพระพรหม ในเขตเทือกเขานี้มีภูเขาสูงสุดในจังหวัด คือเขาหลวง ซึ่งสูงประมาณ ๑,๘๓๕ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ๒.บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก ได้แก่บริเวณเทือกเขาตอนกลางไปทางตะวันออกถึงฝั่งทะเลอ่าวไทยจำแนกได้เป็น ๒ ตอน คือตั้งแต่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ที่มีความกว้างจากบริเวณเทือกเขาตอนกลางไปถึงชายฝั่งทะเลระยะทางประมาณ ๙๕ กิโลเมตร ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร และอำเภอชะอวด และอีกบริเวณหนึ่ง คือตั้งแต่อำเภอท่าศาลาขึ้นไปทางเหนือ อำเภอที่อยู่เหนือเขตพื้นที่ราบด้านนี้คือ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา ๓.บริเวณที่ราบด้านตะวันตก ได้แก่ บริเวณที่ราบระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาบรรทัด จึงมีลักษณะเป็นเนินเขาอยู่เป็นแห่ง ๆอำเภอที่อยู่ที่ราบด้านนี้ คือ อำเภอพิปูน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอทุ่งสง สายน้ำสำคัญ ได้แก่ แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำตาปีไหลผ่าน คือ อำเภอพิปูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ ๒.๑.๔ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากสภาพที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขา และเป็นคาบสมุทรทั้ง ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตก เป็นทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทำให้นครศรีธรรมราชได้ รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย และพายุหมุนเขตร้อนจากทะเลจีนใต้สลับกัน ดังนี้ ๑.ลมมรสุม ๑.๑ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้มี ทิศทางพัดผ่าน มหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันเข้าสู ่ประเทศไทยบริเวณชายฝั่งตะวันตกจึงมี ฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ๑.๒ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมนี้พัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ทำให้เกิดฝนตกชุกในจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ๒.พายุหมุนเขตร้อน ส่งผลต่อลักษณะอากาศของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ พายุหมุนเขตร้อนเป็นระบบความกดอากาศต่ำ ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุหมุนเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่น ลักษณะฤดูกาล นครศรีธรรมราชมี ๒ ฤดูกาล คือ ๑.ฤดูร้อน ช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล อุณหภูมิ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดค่าได้เฉลี่ย ๓๗.๕๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดได้ ๒๐.๐ องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุดในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดได้ ๓๗.๐๐ องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์โดยเฉลี่ยร้อยละ ๗๙.๑๘ ๒.ฤดูฝน แบ่งเป็น ๒ ช่วงได้แก่ ๒.๑ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่เนื่องจากมีเทือกเขานครศรีธรรมราชที่สูงชัน เป็นแนวกั้นทิศทางลม จึงมีฝนตกไม่มาก ๒.๒ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงนี้ฝนตกหนาแน่น ลุ่มน้ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.แม่น้ำปากพนัง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ในเขตตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวดไหลผ่าน อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ และมีสาขาจากอำเภอหัวไทร ไหลมารวมกันที่บ้านปากแพรก กลายเป็นแม่น้ำปากพนังไหลลงสู่อ่าวนครศรีธรรมราชนับเป็นแม่น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดมาก โดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม บริเวณลุ่มน้ำปากพนัง และสาขาบริเวณที่ราบมีพื้นที่นากว่า ๕๐๐,๐๐๐ ไร่ มีโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการโดยกรมชลประทานและแม่น้ำปากพนัง เป็นที่ตั้งของท่าเทียบเรือประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำที่สำคัญอีกด้วย ๒.แม่น้ำหลวง เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำตาปี ต้นน้ำเกิดจากบริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาภูเก็ตส่วนที่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชมีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอพิปูน และอำเภอฉวาง ไหลผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอทุ่งใหญ่เข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในเขตอำเภอพระแสง อำเภอนาสารไปรวมกับแม่น้ำคีรีรัฐนิคม (แม่น้ำพุมดวง) ที่อำเภอพุนพินเรียกว่า “แม่น้ำตาปี ” แล้วไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของภาคใต้ ๓.คลองปากพูน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช บริเวณทางด้านตะวันออกของเทือกเขาต้นน้ำอยู่ที่น้ำตกพรหมโลก ในเขตอำเภอพรหมคีรี ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรีและบ้านท่าแพ ตำบลปากพูนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ๔.คลองปากพญา-คลองปากนคร ต้นน้ำเกิดจากแหล่งน้ำหลายสาขาในเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช ที่เขาคีรีวงเขตตำบลกำโลน อำเภอลานสกาไหลผ่านอำเภอเมือง ต้นน้ำเรียกว่า คลองท่าดี ผ่านตำบลกำแพงเซา ตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง ผ่านสะพานราเมศร์ ตำบลท่าวัง ผ่านตำบลท่าซัก ออกทะเลที่ปากพญา เรียกว่าคลองปากพญา ๕.คลองเสาธง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอลานสกา คลองนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อตามท้องที่ ที่คลองไหลผ่าน คือ เมื่อไหลจากน้ำตกกะโรม เรียกว่าคลองเขาแก้ว เมื่อไหลเข้าสู่อำเภอร่อนพิบูลย์เรียกว่า คลองเสาธง เมื่อไหลผ่านบ้านโคกคราม อำเภอร่อนพิบูลย์ เรียกว่า คลองโคกคราม เมื่อไหลเข้าสู่ตำบลชะเมา เรียกว่าคลองชะเมา เมื่อถึงหนองน้ำมนต์มีคลองแยกไปลงคลองปากนคร แต่ส่วนใหญ่ออกทะเลที่ปากคลองบางจาก ตอนปลายคลองนี้จึงเรียกว่าคลองบางจาก ๖.คลองกลาย ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตพื้นที่อำเภอนบพิตำไหลไปออกทะเลที่อำเภอท่าศาลา ๗.คลองท่าทน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนบนไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอสิชล ๘.คลองน้ำตกโยง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านตะวันตก บริเวณน้ำตกโยง ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง แล้วไหลผ่านตำบลปากแพรก ตำบลชะมาย ตำบลที่วังและตำบลกะปาง เข้าสู่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังกลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำตรัง ๙.คลองมีน ต้นน้ำเกิดจากภูเขาสามจอม (สูง ๗๕๔ เมตร) ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งในอำเภอทุ่งใหญ่ ไหลมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำหลวง หรือแม่น้ำตาปี และไหลออกอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑๐.คลองท่าเลา ต้นน้ำเกิดจากภูเขาวังหีบ อำเภอทุ่งสง เป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขานครศรีธรรมราช ไหลลงทางใต้เข้าอำเภอห้วยยอด และออกทะเลอันดามันที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ๑๑.คลองท่าโลน ต้นน้ำเกิดจากภู เขาปลายเบิกใกล้ ๆ กับภูเขาวังหีบในอำเภอทุ่งสง ไหลลงทางใต้ผ่านที่ว่าการอำเภอทุ่งสง ด้านตะวันออก แล้วรวมเข้าเป็นลำน้ำเดียวกันกับคลองท่าเลา เข้าอำเภอห้วยยอด และออกทะเลอันดามันในเขต อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ๑.๕ เขตการปกครอง การปกครอง จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเขตการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น ๒๓ อำเภอ ๑๖๕ ตำบล ๑,๕๕๑ หมู่บ้าน แยกได้ตามตารางข้างล่างนี้ ข้อมูลเขตการปกครอง ที่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เทศบาล อบต. พื้นที่ (ไร่) ๑. เมืองนครศรีธรรมราช ๑๓ ๑๑๕ ๗ ๑๐ ๓๔๖,๘๐๔ ๒. เชียรใหญ่ ๑๐ ๙๗ ๒ ๘ ๒๒๘,๕๘๙ ๓. ปากพนัง ๑๗ ๑๔๒ ๔ ๑๓ ๓๓๑,๙๐๔ ๔. ชะอวด ๑๑ ๘๗ ๒ ๑๐ ๔๔๐,๘๔๙ ๕. ทุ่งสง ๑๒ ๑๒๔ ๕ ๘ ๕๘๖,๖๔๗ ๖. ท่าศาลา ๑๐ ๑๐๙ ๑ ๑๐ ๒๖๐,๙๓๑ ๗. ร่อนพิบูลย์ ๖ ๕๗ ๓ ๕ ๒๘๐,๓๒๔ ๘. สิชล ๙ ๑๑๐ ๒ ๘ ๔๒๗,๖๙๒ ๙. ลานสกา ๕ ๔๔ ๒ ๔ ๒๒๑,๐๘๘ ๑๐. พิปูน ๕ ๔๒ ๔ ๒ ๓๑๒,๔๖๐ ๑๑. หัวไทร ๑๑ ๙๙ ๓ ๙ ๒๗๒,๗๑๗ ๑๒. ทุ่งใหญ่ ๗ ๖๓ ๒ ๖ ๓๘๐,๗๐๓ ๑๓. ฉวาง ๑๐ ๘๖ ๔ ๘ ๒๖๔,๓๖๓ ๑๔. ขนอม ๓ ๓๔ ๓ ๑ ๑๙๓,๘๐๐ ๑๕. นาบอน ๓ ๓๔ ๑ ๓ ๑๒๔,๐๐๐ ๑๖. พรหมคีรี ๕ ๓๙ ๓ ๔ ๑๕๓,๗๓๐ ๑๗. บางขัน ๔ ๖๐ - ๔ ๓๐๓,๒๐๘ ๑๘. จุฬาภรณ์ ๖ ๒๙ - ๕ ๑๔๔,๘๖๔ ๑๙. ถ้ำพรรณรา ๓ ๒๙ - ๓ ๑๐๘,๙๑๓ ๒๐. พระพรหม ๔ ๔๐ ๑ ๓ ๙๒,๑๑๖ ๒๑. เฉลิมพระเกียรติ ๔ ๓๗ ๒ ๒ ๑๑๔,๕๓๓ ๒๒. นบพิตำ ๔ ๓๘ ๑ ๓ ๔๕๓,๑๒๓ ๒๓. ช้างกลาง ๓ ๓๖ ๒ ๑ ๑๗๐,๗๐๖ รวม ๑๖๕ ๑,๕๕๑ ๕๔ ๑๓๐ ๖,๒๑๔,๐๖๔ ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีส่วนราชการส่วนภูมิภาค จำนวน ๓๔ ส่วนราชการ และอำเภอ ๒๓ อำเภอ ส่วนราชการส่วนกลาง ๙๗ หน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑๘๕ แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง เทศบาล ๕๔ แห่ง (แยกเป็นเทศบาลนคร ๑ แห่ง เทศบาลเมือง ๓ แห่ง และเทศบาลตำบล ๕๐ แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๓๐ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลมีทั้งหมด ๑๓๐ แห่ง จำแนก อบต. ตามขนาดได้ดังนี้ ๑. อบต.ขนาดใหญ่ มี ๑๒ แห่ง คือ อบต.ท่าศาลา ท่าเรือ นาเคียน ช้างกลาง เขาขาว ท้ายสำเภา บ้านลำนาว บางขัน ช้างซ้าย ร่อนพิบูลย์ หินตก และอบต.ทุ่งรัง ๒. อบต.ขนาดกลาง มี ๑๑๗ แห่ง ๓. อบต.ขนาดเล็ก มี ๑ แห่ง คือ อบต.พิปูน ๑.๖ ประชากร/การศึกษา/ศาสนา ลักษณะประชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประชากรจำนวน ๑,๕๕๒,๖๓๓ คน (เดือนมีนาคม ๒๕๕๙) แยกเป็นชาย ๗๖๘,๙๑๑ คน หญิง ๗๘๓,๗๒๒ คน ๕๔๓,๘๓๙ ครัวเรือน โดยเฉลี่ยมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ ๑๕๖.๑๖ คน ต่อตารางกิโลเมตร อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน ๒๗๑,๔๖๑ คน ๑๐๔,๓๒๐ ครัวเรือน และอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอถ้ำพรรณรา จำนวน ๑๙,๑๕๔ คน ๖,๙๘๓ ครัวเรือน สถิติจำนวนประชากรจังหวัดนครศรีธรรมราช ลำดับ อำเภอ ชาย(คน) หญิง(คน) รวมจำนวนประชากร(คน) ครัวเรือน ๑. เมือง ๑๓๒,๓๓๔ ๑๓๙,๑๒๗ ๒๗๑,๔๖๑ ๑๐๔,๓๒๐ ๒. พรหมคีรี ๑๘,๕๖๘ ๑๘,๙๑๗ ๓๗,๔๘๕ ๑๑,๗๙๕ ๓. ลานสกา ๑๙,๙๙๒ ๒๐,๘๖๘ ๔๐,๘๖๐ ๑๔,๕๐๗ ๔. ฉวาง ๓๒,๗๕๗ ๓๔,๖๒๔ ๖๗,๓๘๑ ๒๔,๖๕๙ ๕. พิปูน ๑๔,๓๙๘ ๑๔,๘๘๐ ๒๙,๒๗๘ ๑๑,๑๕๓ ๖. เชียรใหญ่ ๒๑,๘๐๐ ๒๑,๖๓๔ ๔๓,๔๓๔ ๑๔,๒๑๑ ๗. ชะอวด ๔๒,๘๔๔ ๔๓,๖๕๙ ๘๖,๕๐๓ ๒๙,๕๙๐ ๘. ท่าศาลา ๕๕,๕๙๘ ๕๗,๐๓๓ ๑๑๒,๖๓๑ ๓๔,๑๗๙ ๙. ทุ่งสง ๗๙,๘๕๙ ๘๐,๑๔๘ ๑๖๐,๐๐๗ ๖๐,๘๘๗ ๑๐. นาบอน ๑๓,๔๐๒ ๑๓,๖๓๓ ๒๗,๐๓๕ ๙,๑๒๒ ๑๑. ทุ่งใหญ่ ๓๖,๘๖๒ ๓๗,๑๗๙ ๗๔,๐๔๑ ๒๕,๗๘๖ ๑๒. ปากพนัง ๕๐,๑๖๖ ๔๙,๕๘๘ ๙๙,๗๕๔ ๓๑,๙๓๗ ๑๓. ร่อนพิบูลย์๔๐,๖๖๗ ๔๑,๒๒๒ ๘๑,๘๘๙ ๒๕,๕๗๔ ๑๔. สิชล ๔๓,๘๓๑ ๔๔,๔๘๑ ๘๘,๓๑๒ ๓๐,๐๐๔ ๑๕. ขนอม ๑๕,๐๔๙ ๑๕,๒๘๒ ๓๐,๓๓๑ ๑๓,๙๙๗ ๑๖. หัวไทร ๓๓,๓๔๑ ๓๓,๒๗๒ ๖๖,๖๑๓ ๒๓,๑๒๓ ๑๗. บางขัน ๒๓,๖๔๔ ๒๓,๑๑๙ ๔๖,๗๖๓ ๑๕,๖๙๐ ๑๘. ถ้ำพรรณรา๙,๕๖๕ ๙,๕๘๙ ๑๙,๑๕๔ ๖,๙๘๓ ๑๙. จุฬาภรณ์ ๑๕,๕๒๘ ๑๕,๙๘๕ ๓๑,๕๑๓ ๙,๙๕๙ ๒๐. พระพรหม ๒๑,๕๑๑ ๒๑,๙๐๙ ๔๓,๔๒๐ ๑๔,๘๓๒ ๒๑. เฉลิมพระเกียรติ ๑๕,๗๙๖ ๑๕,๗๒๕ ๓๑,๕๒๑ ๑๐,๑๐๓ ๒๒. นบพิตำ ๑๖,๖๑๑ ๑๖,๕๗๓ ๓๓,๑๘๔ ๑๑,๐๑๐ ๒๓. ช้างกลาง ๑๔,๗๘๘ ๑๕,๒๗๕ ๓๐,๐๖๓ ๑๐,๔๑๘ รวม ๗๖๘,๙๑๑ ๗๘๓,๗๒๒ ๑,๕๕๒,๖๓๓ ๕๔๓,๘๓๙ ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ เดือนมีนาคม ๒๕๕๙ การศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิทยาเขตที่เปิดสอน ๗ แห่ง คือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชแบ่งพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษา ออกเป็น ๔ เขต และพื้นที่มัธยมศึกษา ๑ เขต ข้อมูลพื้นฐาน ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ รวม ๕ เขตพื้นที่การศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน มีสถานศึกษา ๙๘๙ แห่ง ครูอาจารย์ ๑๔,๔๐๘ คน นักเรียน ๒๖๒,๖๒๘ คน แยกได้ จังหวัดนครศรีธรรมราชแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น ๔ เขต และเขตมัธยมศึกษา ๑ เขต ได้แก่ ๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑ รวมพื้นที่ อำเภอเมือง (ที่ตั้งเขต) อำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒ รวมพื้นที่ อำเภอทุ่งสง (ที่ตั้งเขต) อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน อำเภอนาบอน อำเภอฉวาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอพิปูน และอำเภอช้างกลาง ๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ รวมพื้นที่ อำเภอเชียรใหญ่ (ที่ตั้งเขต) อำเภอปากพนัง อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด และ อำเภอจุฬาภรณ์ ๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ รวมพื้นที่ อำเภอท่าศาลา (ที่ตั้งเขต) อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอพรหมคีรี และ อำเภอนบพิตำ ๕. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ จำนวน ๑ แห่ง ดูแลโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี ๒๕๕๙ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน ๒๓ แห่ง ห้องสมุดมีบุคลากร ๔๓๓ คน มีผู้เข้าศึกษานอกระบบ รวม ๑๙,๘๙๐ คน ประชาชน ๒๕ แห่ง กศน.ตำบล ๑๖๙ แห่ง การศาสนา ปี ๒๕๕๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัด ๖๑๙ แห่ง (มหานิกาย ๕๓๘ แห่ง ธรรมยุต ๘๑ แห่ง) ที่พักสงฆ์ ๑๒๒ แห่ง มัสยิด ๑๒๒ แห่ง โบสถ์คริตต์ ๓๘ แห่ง มหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง โรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ ๗ แห่ง ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด ๑๐๑ แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๒ แห่ง มี พระภิกษุรวม ๓,๕๒๙ รูป สามเณร ๘๔๘ รูป จำนวนประชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑,๕๔๖,๕๖๖ คน แยกเป็นชาย ๗๖๖,๑๒๙ คน หญิง ๗๘๐,๔๓๗ คน จำแนกประชากรที่นับถือศาสนา ดังนี้ จำนวนประชากรนับถือศาสนาพุทธ ๑,๔๔๗,๗๔๐ คน คิดเป็น ๙๓.๖๑ % จำนวนประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ๙๕,๔๒๓ คน คิดเป็น ๐๖.๑๗ % จำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๓,๔๐๓ คน คิดเป็น ๐.๒๒ % ๑.๗ การสาธารณสุข ผลการการดำเนินงาน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการคู่สัญญา ทั้งหมด ๒๕ เครือข่าย การขึ้นทะเบียนและการออกบัตร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการออกบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ ณ เดือน กันยายน ๒๕๕๘ จำนวน ๑,๕๕๐,๘๖๗ คน คิดเป็นความครอบคลุมร้อยละ ๙๙.๗๕ ของประชากรทั้งหมด ดังนี้ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน ๑,๒๕๕,๙๕๖ บัตร สิทธิประกันสังคม จำนวน ๑๘๑,๓๒๑ บัตร สิทธิข้าราชการ/สิทธิรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๔๑,๗๐๓ บัตร สถานสุขภาพและ สถิติชีพ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน อัตราเกิด ๑๗,๕๖๔ คน อัตรา ๑๒.๒๗ อัตราตาย ๙,๘๑๓ คน อัตรา ๖.๐๑ อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ ๗,๗๕๑ คน อัตรา ๐.๔๙ (ต่อประชากร ๑๐๐ คน) อัตราทารกตาย ๗๗ คน อัตรา ๖.๓๙ อัตรามารดาตาย ๑ คน อัตรา ๕.๖๗ ต่อเด็กเกิดมีชีพ ๑๐๐,๐๐๐ คน สาเหตุการตายที่สำคัญ จากข้อมูลการตายใบมรณบัตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี ๒๕๕๘ พบว่าสาเหตุการตายที่สำคัญ ๕ ลำดับแรก คือ เนื้องอก (มะเร็ง) โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ปอดบวม และโลหิตเป็นพิษ สาเหตุการป่วย สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก ๕ ลำดับแรกคือโรคระบบไหลเวียนเลือด โรคต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิสัม โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก และ โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่าง สาเหตุป่วยของผู้ป่วยใน ๕ อันดับแรกโรคความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิสัมอื่น ๆ โรคแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ โรคความดันโลหิตสูง โรคเลือดอวัยวะสร้างเลือด และความผิดปกติตั้งครรภ์และโรคอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร โรคจากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (ตั้งแต่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘) มีการรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทั้งสิ้น ๔๖,๔๘๕ ราย ๕ อันดับแรกคือ โรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน ไข้ไม่ทรายสาเหตุ โรคปวดบวม โรคตาแดงจากไวรัส และโรคไข้เลือดออก

แหล่งที่มา :